วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โลจิสติกส์ (Logistics)

โลจิสติกส์ (Logistics) หมายถึง ?

The Council of Logistics Management (CLM) ซึ่งเป็นองค์กรทางวิชาชีพทางด้าน โลจิสติกส์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำนิยามของโลจิสติกส์ ดังนี้
 
โลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
 
โลจิสติกส์ (Logistics) หมายถึง การจัดลำเลียงสินค้าเพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการกระจายสินค้าต่ำที่สุด โลจิสติกส์เกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบและไปสิ้นสุด ณ จุดที่มีการบริโภคสินค้านั้น หรือในอีกความหมายหนึ่ง โลจิสติกส์เป็นกระบวนการในการจัดการวางแผน จัดสายงานและควบคุมกิจกรรมทั้งในส่วนที่มีการเคลื่อนย้ายและไม่มีการเคลื่อนย้ายในการอำนวยความสะดวกของกระบวนการไหลของสินค้า ตั้งแต่จุดเริ่มจัดหาวัตถุดิบไปถึงจุดที่มีการบริโภคโลจิสติกส์ ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน
 
โลจิสติกส์หมายถึง การจัดการเคลื่อนย้ายของสินค้า บริการ ข้อมูล และการเงินระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้

กิจกรรมหลัก (Key Activities) ได้แก่ - ระบบการขนส่ง (Transportation)
- การบริหารสินค้าใน stock ( Inventory Management)
- ขบวนการสั่งซื้อ (Order Processing)
- การจัดการด้านข้อมูล ( Information Management)
- การจัดการด้านการเงิน ( Financial Management)


กิจกรรมสนับสนุน( Supporting Activities)ได้แก่ - การบริหารคลังสินค้า ( Warehouse Management)
- การจัดการควบคุมวัสดุในการผลิต ( Material Handling)
- การจัดซื้อ ( Purchasing)
- การบรรจุหีบห่อ ( Packaging)
- การบริหารความต้องการของสินค้า ( Demand Management)


อ้างอิง
http://logistics.dpim.go.th/exchange/faq.php#q20

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มาร์โก โปโล

มาร์โก โปโล
มาร์โค โปโล (Marco Polo)[c.1254-1324]
มาร์โค โปโล นักเดินทางในสมัยกลางชาวอิตาเลี่ยน ถือว่าเป็นชาวยุโรปคนแรก ที่เดินทางข้ามทวีปเอเชีย และได้เขียนบันทึกการเดินทางเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้ยินได้ฟังเอาไว้. หนังสือบันทึกการเดินทางของเขาได้รับการรู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า The Travels of Marco Polo, ในหนังสือเล่มดังกล่าว เขาได้อธิบายถึงทวีปๆหนึ่ง ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักกันเลยสำหรับชาวยุโรปในยุคสมัยของเขา. เขาได้พรรณาถึงอารยธรรมเกี่ยวกับจีน ซึ่งเจริญเหนือกว่าวัฒนธรรม และเทคโนโลยีของชาวยุโรป. แต่เนื่องจากว่าบางส่วน มีนัยะที่เป็นไปในเชิงยกยอปอปั้น, หนังสือเล่มนี้จึงไม่ได้รับการพิจารณาในสาระสำคัญ เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่เสกสรรค์ขึ้นมา และเป็นเรื่องเกินความจริงไป. จนกระทั่งคริสตศตวรรษที่ 19 นักวิชาการและบรรดานักสำรวจทั้งหลาย จึงยืนยันถึงความถูกต้องเที่ยงตรงโดยทั่วๆไป เกี่ยวกับการสังเกตุการณ์ของมาร์โค โปโล.
ครอบครัวของมาร์โค โปโล และการเดินทางของพวกเขา
พ่อของมาร์โค โปโล, Niccolo, และลุงของเขา Maffeo เป็นพ่อค้าที่มั่งคั่งแห่ง Venetian Republic. ตอนที่มาร์โคยังเป็นเด็กอยู่ พ่อและลุงของเขาได้จากครอบครัวในเวนิส และออกเดินทางไกลไปในดินแดนที่ไม่ได้คาดหวังเอาไว้ จนไปถึงประเทศจีน. ในช่วงเวลานั้น ไม่มีชาวคริสเตียนตะวันตกคนใดเท่าที่ทราบ ได้เคยเดินทางไปประเทศจีนมาก่อน, และเมื่อตระกูลโปโลได้เดินทางไปถึงประเทศจีน พวกเขาก็ได้รับการต้อนรับด้วยไมตรีจิตอย่างอบอุ่นโดยผู้ปกครอง นามว่า Kublai Khan, จักรพรรดิ์แห่งมองโกลส์.
กุปไบล ข่าน ได้สอบถามคนทั้งสองด้วยความสนใจอย่างยิ่งเกี่ยวกับดินแดนยุโรป. พระองค์ได้มอบหมายให้ทั้งคู่นำพระราชสาส์นไปมอบให้กับ Pope Clement IV เพื่อขอให้ทรงส่งผู้คนแก่เรียนจำนวน 100 คนมายังราชสำนักของพระองค์ เพื่อจะได้ถกกันถึงปัญหาธรรมมะ และสนทนากนถึงคุณความดีของคริสตศาสนา. ตระกูลโปโลได้รับปากว่า จะนำน้ำมันจากตะเกียงเหนือหลุมฝังพระศพขององค์พระเยซูคริสต์ในกรุงเยรูซาเล็มกลับมาด้วย.
ในปี 1269 สองพี่น้องตระกูลโปโล ได้เดินทางกลับมาถึงป้อมปราการ Crusader of Acre ในปาเลสไตน์. ฑูตของสันตะปาปาที่ Acre, Teobaldo Visconti, ได้ให้ข่าวแก่คนทั้งสองว่า Pope Clement ได้สิ้นพระชนม์แล้ว แต่ได้เร่งเร้าให้พวกเขาปฏิบัติตามพันธกิจของตน เมื่อองค์สันตะปาปาองค์ใหม่ได้รับการเลือกตั้งขึ้น. สองพี่น้องตระกูลโปโลอธิบายว่า จะใช้เวลาในช่วงระหว่างนั้นไปเยี่ยมครอบครัวของตน, แต่ในขณะที่เดินทางกลับมายังบ้านเกิด Niccolo ได้ทราบข่าวว่า ภรรยาของเขาได้ถึงแก่กรรมลงแล้ว. บุตรชายของเขา Marco ตอนนี้ก็มีอายุย่างเข้า 15 ปีแล้ว.
การเลือกตั้งสันตะปาปาองค์ใหม่ได้ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า และหลังจากนั้นสองปี ผู้เป็นน้อง(หมายถึงพ่อของมาร์โค)ก็ตัดสินใจว่า ถ้าหากว่าพวกเขายังต้องรอต่อไปอีก มันจะสายเกินไปที่จะหวนกลับไปเฝ้าองค์จักรพรรดิ์กุปไบล ข่าน. ดังนั้นในปี 1271 พวกเขาจึงกลับไปยัง Acre, และครั้งนี้เขาได้นำเอามาร์โค โปโลติดตามไปด้วย. หลังจากที่ได้ปรึกษาหารือกับฑูตของสันตะปาปา Teobaldo, พวกเขาก็เดินทางต่อไปยังกรุงเยรูซาเล็ม และไปรับเอาน้ำมันตะเกียงอันศักดิ์สิทธิ์.
พร้อมน้ำมันตะเกียงและจดหมายฉบับหนึ่งจากท่านฑูตขององค์สันตะปาปา ตระกูลโปโลทั้งสามคนก็เริ่มออกเดินทางไกลไปยังประเทศจีน. ก่อนที่พวกเขาจะออกเดินทางไกลครั้งนี้ พวกเขาได้รับรู้จาก Teobaldo เองว่าจะได้รับเลือกให้เป็นสันตะปาปา ตัวท่านเองจะเป็นผู้ตอบรับคำขอของจักรพรรดิ์กุปไบล ข่าน. แต่ว่าสันตะปาปาองค์ใหม่, ผู้ซึ่งได้ฉายาว่า Gregory X, สามารถที่จะส่งผู้คงแก่เรียนหรือมิชชันนารีไปกับครอบครัวโปโลได้เพียง 2 คนเท่านั้น แทนที่จะเป็น 100 คนตามที่ได้มีพระราชสาส์นขอมา. ถึงกระนั้นก็ตาม มิชชันนารีทั้งสองคนนี้ ต่อมาไม่นานก็ได้ละทิ้งการเดินทางนี้ไปเสีย.
การเดินทางซึ่งต้องข้ามภูเขาและทะเลทรายแห่งเอเชีย ทำให้พวกเขาต้องใช้เวลาในการเดินทางยาวนานถึง 3 ปีครึ่งทีเดียว, และมาสิ้นสุดที่ Shangtu, อันเป็นเมืองหลวงสำหรับฤดูร้อนขององค์จักรพรรดิ์กุปไบล ข่าน. องค์พระจักรพรรดิ์ฯ ได้ต้อนรับนักเดินทางด้วยเครื่องหมายอันแสดงถึงไมตรีจิตที่พิเศษ และรับรอง Marco ด้วย ซึ่งตอนนี้เขามีอายุ 20 ย่าง 21 ปีแล้ว, พวกเขาต่างๆได้รับการต้อนรับท่ามกลางผู้รับใช้ของพระองค์อย่างสมเกียรติ.
ถึงแม้ว่ามันจะไม่เป็นที่ชัดเจนนักว่า สิ่งที่ตระกูลโปโลทำนั้นในช่วง 17 ปีที่พำนักอยู่ในประเทศจีนคืออะไร, แต่เป็นที่ทราบกันดีว่ากุปไบล ข่าน ได้ใช้เจ้าหน้าที่ทางการชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก และมาร์โคได้รับหน้าที่กระทำภารกิจในเรื่องที่ต้องสัญจรไปในที่ห่างไกลของจักรวรรดิ์ และได้บรรลวัตถุประสงค์อยู่เนืองๆ. สำหรับการเดินทางครั้งหนึ่งนั้น ได้อนุญาตให้มาร์โค โปโล เดินทางไปยังทิศตะวันตกเฉียงใต้จนถึงเมืองยูนาน และเป็นไปได้ว่า เขาจะไปถึงประเทศพม่าด้วย. ส่วนอีกครั้งของการเดินทางนั้น เขาได้ท่องไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่เมืองหางโจว อันถือว่าเป็นเมืองใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งทัดเทียมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความงดงามของเมืองหลวงของจักรพรรดิ์กุปไบล ข่าน, นั่นคือ เมือง Taitu หรือ Khanbalik (หรือปักกิ่งนั้นเอง).
มันมีเหตุผลที่จะคิดไปได้ว่า มาร์โค โปโล ได้มีความสัมพันธ์กันบางอย่างกับผู้บริหารที่ได้รับเอกสิทธิ์เกี่ยวกับการค้าเกลือ. แต่มันไม่ได้รับการบันทึกเอาไว้ในรายงาน. ในเรื่องเล่าส่วนใหญ่ของหนังสือบันทึกการเดินทางของมาร์โค โปโล, ผู้บริหารเกี่ยวกับการค้าเกลือนี้ เขาเป็นผู้ปกครองเมืองหยางโจว ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญ และตระกูลโปโลได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการยึดครองของมองโกลส์เกี่ยวกับเมือง Saianfu ด้วย.
ในที่สุด พอถึงปี 1929 ตระกูลโปโลก็ได้ออกจากเมืองจีน ซึ่งในช่วงเวลานั้น จักรพรรดิ์กุปไบล ข่าน ย่างเข้าสู่วัยชราภาพแล้ว. ชาว Venetian ทั้งสามเกรงว่า ข้าราชบริภารราชสำนักที่เป็นภัยต่อพวกเขาอาจนำอันตรายมาสู่พวกเขาได ้เมื่อผู้ปกป้องพวกเขาต้องเสด็จสวรรคต. การรู้ว่า เจ้าหญิงพระองค์หนึ่งของจักรพรรดิ์กุปไบล ข่านได้รับการยกให้กับผู้ปกครองชาวมองโกลส์แห่งเปอร์เชีย เป็นช่องทางอันหนึ่งที่พวกเขาจะได้ออกจากเมืองจีนและกลับไปยังบ้านเกิดของตน, ดังนั้น ตระกูลโปโลจึงขอพระราชทานอนุญาตจากกษัตริย์กุปไบล ข่าน เพื่อไปเป็นผู้คุ้มกันในขบวนเสด็จของเจ้าหญิง ทั้งๆที่จักรพรรดิ์กุปไบล ข่านจะไม่เต็มพระทัยก็ตาม.
การเดินทางนั้นใช้เส้นทางเรือมุ่งหน้าออกสู่ทะเล และจากเปอร์เชีย ตระกูลโปโล ในท้ายที่สุด ก็ได้มาถึงเมืองเวนิสในปี 1295 หลังจากที่ต้องร้างลาจากบ้านเกิดมานานถึง 24 ปีเต็ม.
เรื่องเล่าตำนานอันนี้ เมื่อแรกมันไม่ได้รับการยอมรับ, ทั้งนี้เพราะ มันเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดต่อเพื่อนบ้านของพวกเขา เกี่ยวกับการสร้างโชคลาภขึ้นมาด้วยอัญมณีจากเสื้อบุชั้นใน ในเสื้อผ้าของพวกเขา. ในช่วงเวลาระหว่าง 3 ปีต่อมา, มาร์โค โปโล ได้ถูกจับเป็นเชลยในสงครามทางทะเลระหว่างเวนิสและจีนัว. ในคุกของจีนัว เขาได้เล่าถึงประสบการณ์ของตนเองในเอเชียแก่บรรดาคนคุกทั้งหลายฟัง. และเมื่อนักโทษคนหนึ่ง นามว่า Rustichello, ซึ่งเป็นนักเขียนเรื่องโรมานส์ ได้เสนอเรื่องราวอันน่าสนใจเกี่ยวกับสิ่งที่มาร์โค โปโลได้พูดถึงนี้เป็นลายลักษณ์อักษร, มาร์โค โปโล ก็ยอมรับว่าเป็นเช่นนั้นจริง และได้ส่งบันทึกการเดินทางดังกล่าวไปยังเมืองเวนิส. ด้วยวิธีการนี้ การเดินทางครั้งนั้นของมาร์โค โปโล จึงได้ถุกบันทึกสำหรับชนรุ่นหลังต่อมา.
เมื่อได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นนักโทษราวปี 1299, มาร์โค โปโล ได้หวนคืนกลับไปยังเมืองเวนิส และได้เริ่มต้นทำการค้าของเขาขึ้นมาอีกครั้ง. เขาได้แต่งงานและมีลูก และถึงแก่กรรมลงในปี 1324. ตอนที่เขาถึงแก่กรรมนั้น ได้ทิ้งหลักทรัพย์ซึ่งเป็นที่ดินมากมายให้แก่ลูกสาว 3 คนของเขา. บนเตียงนอนก่อนที่เขาจะตาย เขาได้พูดออกมาซึ่งมีบันทึกเอาไว้ว่า : "ข้าไม่ได้เล่าเรื่องราวอีกครึ่งหนึ่งที่ข้าได้ไปพบเห็นมา ให้ใครฟัง เพราะว่าข้ารู้ดีว่ามันคงจะไม่มีใครเชื่อ"(I did not tell half of what I saw, because I knew I would not be believed".
หนังสือของมาร์โค โปโล
ชื่อเรื่องเดิมเกี่ยวกับหนังสือของมาร์โค โปโล นั้นคือ Description of the World (คำอธิบายเกี่ยวกับโลก). จุดมุ่งหมายของเขาเกี่ยวกับงานชิ้นนี้ เขาเขียนขึ้นมาก็เพื่อ ต้องการให้คนอื่นๆนำเอาความรู้ที่เขาเรียนรู้มาไปใช้ได้ ทั้งนี้เป็นการรวบรวมขึ้นมาจากสิ่งที่เขาได้พบเห็นโดยตรง และเรื่องราวที่น่าเชื่อถือที่เขาได้ยินมา. ด้วยเหตุดังนั้น หนังสือเล่มดังกล่าว จึงครอบคลุมสถานที่ต่างๆ อย่างเช่น ญี่ปุ่น และอาร์คติค ซึ่งเขายอมรับว่าเขาไม่เคยไปแวะเวียนที่นั่นมาเลย.
มาร์โค โปโล เป็นคนที่สนใจในทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศหนึ่ง, เช่นเดียวกับจักรพรรดิ์กุปไบล ข่าน, ซึ่งสำหรับพระองค์ทรงมีบุคลิกลักษณะเช่นนี้. มาร์โค โปโล ได้ฝึกฝนพลังแห่งการสังเกตุและเฝ้าดูของตนเองขึ้นมา เพื่อที่จะเขียนรายงานที่สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้เกี่ยวกับการเดินทางที่เป็นทางการ. หนังสือของมาร์โค โปโลเกี่ยวกับข้องกับรูปร่างของผืนแผ่นดิน, สัตว์ และพืชพันธุ์ต่างๆ สิ่งประดิษฐ์ การผลิต ขนบธรรมเนียมประเพณี รัฐบาล และศาสนา. สิ่งที่น่าพิศวงมากมายที่เขาได้บันทึกเอาไว้ มาถึงตอนนี้ กลายเป็นเรื่องธรรมดาไม่น่าสนใจแล้ว; ดังเช่น หินและของเหลวซึ่งติดไฟได้ ปัจจุบันเราทราบกันแล้วว่าคือถ่านหินและน้ำมัน. ส่วนสิ่งที่แปลกประหลาดอื่นๆนับแต่ที่ได้รับการยืนยัน อย่างเช่น เรื่องราวของมนุษย์กินคนแห่งสุมาตรา, ยังคงมีเสน่ห์ตรึงใจอยู่. เรื่องราวที่ฟังดูเหลวไหลไร้สาระที่รู้กันทั่วไป อย่างเช่น ชนเผ่าหนึ่งซึ่งมีหาง ปกติแล้วไม่ได้เป็นที่รับรองโดยส่วนตัว. สำหรับเหตุผลบางประการ มาร์โค โปโล ไม่ประสบความสำเร็จที่จะกล่าวถึงหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าสนใจมาก, ซึ่งอันนี้รวมถึงกำแพงเมืองจีนที่ยิ่งใหญ่มากและการดื่มน้ำชา. เขาอาจจะคิดว่ารายละเอียดอันนั้น มันไม่น่าเชื่อถือหรือไม่มีความสำคัญ หรือเขาอาจจะหลงลืมมันไป. ทั้งนี้เพราะ เรื่องคลาสสิคของมาร์โค โปโล ก็คือ ผลงานชิ้นหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์ ยิ่งกว่าเรื่องราวอัตชีวประวัติและเรื่องเล่าของการเดินทาง
หนังสือที่เขาเขียนขึ้นมา มันได้เผยถึงบุคลิกภาพส่วนตัวของเขาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หรือแม้แต่เรื่องราวของการผจญภัยที่เขาประสบก็ตาม. แน่นอน มาร์โค โปโล มีความอยากรู้อยากเห็นมาก และเป็นนักสังเกตุการณ์ที่หลักแหลมที่สุดคนหนึ่ง. เขาจะต้องเป็นบุคคลที่มีใจห้าวหาญ เป็นคนเจ้าความคิด และกล้าแกร่งพร้อมที่จะเผชิญกับความยากลำบาก. เขาเป็นคนที่มีอคติ ในฐานะชนชาวคริสเตียนในสมัยกลางซึ่งมีต่อศาสนาอิสลาม แต่ก็เป็นคนซึ่งมีจิตใจเปิดกว้างเกี่ยวกับพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู. ในความตั้งใจของเขานั้น เขาได้ปลดปล่อยทาสชาวตาต้าให้เป็นอิสระ.
หนังสือเล่มดังกล่าวได้แพร่หลายไปในรูปของข้อความที่ได้รับการคัดสำเนาด้วยลายมือ จนกระทั่งมันได้รับการตีพิมพ์ออกมาครั้งแรกเป็นเล่มในปี 1477. ต้นฉบับลายมือดั้งเดิมนั้น เชื่อกันว่าเป็นภาษาฝรั่งเศส ทั้งนี้เพราะต้นฉบับที่เป็นภาษาอิตาเลี่ยนจำนวนมากนั้นไม่ได้เหลือรอดต่อมาให้เห็นเลย. ทราบกันว่ามีการคัดสำเนาเรื่องนี้เอาไว้ราว 140 ก๊อปปี้ ในภาษาต่างๆอย่างหลากหลาย. และไม่มีต้นฉบับเล่มใดที่เหมือนกันจริงๆกับเนื้อหาต้นฉบับเลย.
แม้ว่าเมื่อเร็วๆนี้ จะเป็นที่ทราบกันดีว่า หนังสือเล่มดังกล่าวไม่ได้รับความสนใจกันอย่างจริงจังมากนัก เว้นแต่โดยนักวิชาการเพียงไม่กี่คนและบรรดานักสำรวจเท่านั้น. ตระกูลโปโลได้บุกเบิกเส้นทางไปยังประเทศจีนสำหรับพวกมิชชั่นนารีและพ่อค้าเพียงไม่กี่คน, แต่เส้นทางดังกล่าวนี้ ได้รับการเปิดขึ้นมาโดยการพิชิตของชาวมองโกลส์ที่มีต่อเอเชียส่วนใหญ่ ก็ได้ถูกปิดลงอีกครั้ง เมื่อจักรวรรดิ์มองโกลส์ได้ล่มสลายในศตวรรษที่ 14. แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่การเดินทางครั้งนี้ได้กระทำ, ก็คือการกระตุ้นต่อการแสวงหาเครื่องเทศของชาวยุโรปและความหรูหราอื่นๆของตะวันออก. โคลัมบัส เป็นตัวอย่าง ผู้ซึ่งได้อ่านหนังสือเล่มนี้และได้ทำบันทึกลงในหนังสือี้ของเขา. เขาได้เขียนข้อความว่า มันเป็นเพราะบันทึกการเดินทางเกี่ยวกับคาเธ่ย์ หรือประเทศจีนของมาร์โค โปโล นั่นเอง ที่ทำให้โคลัมบัสมุ่งหน้าสู่ทิศตะวันตกในปี 1492.
การเดินทางของเขาถูกบันทึกไว้ในหนังสือชื่อ อิลมีลีโอเน (Il Milione) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ การเดินทางของมาร์โก โปโล




เว็บอ้างอิง

http://www.midnightuniv.org/midnightuniv/AAA1.htm

 

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการท่องเที่ยว

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการท่องเที่ยว

 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการท่องเที่ยว คือ ความสัมพันธ์ระหว่างการขนส่งผู้โดยสารกับนักท่องเที่ยว  
ความหมายของการขนส่งผู้โดยสาร หน้าที่ของการขนส่งผู้โดยสาร ความสำคัญของ
การขนส่งผู้โดยสารและปัญหาของการขนส่งผู้โดยสาร


1.1 ความสัมพันธ์ระหว่างการขนส่งผู้โดยสารกับการท่องเที่ยว
      การท่องเที่ยวจำเป็นต้องมีการเดินทางของนักท่องเที่ยวจากถิ่นที่อยู่ประจำไปยังแหล่งท่องเที่ยวเป็นการชั่วคราว
การขนส่งผู้โดยสารกับนักท่องเที่ยวจึงมีความความสำคัญดังต่อไปนี้
1.1.1การขนส่งผู้โดยสารทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง (Destination)
1.1.2 การขนส่งผู้โดยสารให้บริการที่สะดวกสบายในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยว เช่น การเดินทางท่องเที่ยวไปกับเรือสำราญ
1.1.3 การขนส่งผู้โดยสารก่อเกิดการกระตุ้นนให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
1.1.4 การขนส่งผู้โดยสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
1.1.5 การขนส่งผู้โดยสารเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
1.1.6 การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการขนส่งผู้โดยสาร

1.2 เครือข่ายการขนส่งผู้โดย (Passenger Transportation Networks)
      การขนส่งจะมีอุปกรณ์ขนส่ง หรือยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางท่องเที่ยวแล้วยังต้องมีเครือข่ายการขนส่งผู้โดยสาร นอกจากนั้นควรจะมีบริการขนส่งผู้โดยสารสาธารณะเข้าถึงจุดหมายปลายทางหรือแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างสะดวก  รวดเร็ว  และปลอดภัย  หากมีการขนส่งมวลชนของท้องถิ่นนั้นให้บริการด้วยก็ยิ่งดี

1.3 ความหมายของการขนส่งผู้โดยสาร
      จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจ ความหมายของการขนส่งก่อน
1.3.1  ความหมายของการขนส่ง
1.3.2  ความหมายของการขนส่งผู้โดยสาร
         ต้องประกอบด้วยลักษณะสำคัญอยู่ 3 ประการคือ
         1.3.2.1  เป็นกจิกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายบุคคลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
         1.3.2.2  เป็นการเคลื่อนย้ายที่ต้องกระทำด้วยอุปกรณ์การขนส่ง
         1.3.2.3  เป้นการเคลื่อนย้ายที่ต้องเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลผู้ที่ต้องการขนส่ง

1.4 หน้าที่ของการขนส่งผู้โดยสาร
     สิ่งที่ต้องทราบถึงหน้าที่ของการขนส่งผู้โดยสารว่ามีหน้าที่อย่างไร การขนส่งผู้โดยสารทำหน้าที่ผลิตบริการเพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ในการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งให้เกิดอรรถประโยชน์ด้านเวลาและสถานที่

1.5 ความสำคัญของการขนส่งผู้โดยสาร
     เป็นการขนส่งผู้โดยสารที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การเมืงและทหาร  เป็นต้น
1.6 ปัญหาของการขนส่งผู้โดยสาร
     ปัญหาของการขนส่งผู้โดยสารที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
     1.6.1 ปัญหาอากาศเป็นพิษ
     1.6.2 ปัญหาน้ำเป็นพิษ
     1.6.3 ปัญหาเสียงรบกวน
     1.6.4 ปัญหาการจราจรติดขัด
     1.6.5 ปัญหาอุบัติเหตุ
     1.6.6 ปัญหาการลงทุน
1.7  การบริการขนส่งผ้โดยสาร
      การขนส่งผู้โดยสารในตัวเมืองแบ่งได้ 3 รูปแบบ
              1. ไป-กลับ  ภายในตัวเมือง
              2. ในเมือง-ไปนอกเมือง
              3. จากนอกเมือง-เข้าตัวเมือง

1.8 ประเภทของการขนส่งผู้โดยสาร  แบ่งได้ 4 ประเภทใหญ่ ๆ
     1.8.1  การขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์
     1.8.2  การขนส่งผู้โดยสารด้วยรถไฟ
     1.8.3  การขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือ
     1.8.4  การขนส่งผู้โดยสารด้วยเครื่องบิน

สรุป
การขนส่งผู้โดยสารเพื่อกระตุ้นนักท่องเที่ยว ให้เดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวอย่างสะดวก  เกิดการลงทุนด้านการท่องเที่ยว  เกิดการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว  สร้างรายได้ในท้องถิ่นที่เสื่อมโยงกับระบวนการขนส่ง